แถลงข่าว เรื่องแนวโน้มสถานการณ์น้ำ 67/68 และมาตราการปรับตัวที่พึงมี จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567

แถลงข่าว  เรื่องแนวโน้มสถานการณ์น้ำ 67/68 และมาตราการปรับตัวที่พึงมี จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567
(Press meeting on “Water Situation Trends in 2024/2025 and Appropriate Adaptation Measures By National Research Council of Thailand on March 12,2024)

หลักการและเหตุผล

สถานการณ์น้ำแปรปรวน การปรับเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ เกิดภาวะน้ำท่วม น้ำแล้ง สลับกันไป งานวิจัยช่วยในการเพิ่มความถูกต้องในการทำนาย และจำลองสภาพล่วงหน้าในหลายภาพได้ ช่วยในการตัดสินใจ และเตรียมตัว รับมือกับ ภัยแล้ง และภัยน้ำท่วม ได้ดียิ่งขึ้น

ในการนี้ วช.จึงจัดให้มีการแถลงข่าว “แนวโน้มสถานการณ์น้ำ 67/68 และมาตรการการปรับตัวที่พึงมี” เมื่อวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น. ณ   โดยมีคณะวิจัยและผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำและภูมิอากาศ ร่วมนำเสนอการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แนวโน้มของสภาพน้ำท่า และทางออกของการจัดการปัญหาด้วย ววน. ณ ศูนย์สารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชั้น 1 อาคาร วช. 8 

กำหนดการ
 

09.30 น.   ลงทะเบียน และรับประทานอาหารว่าง
10.00 น.  

กล่าวเปิดงานและชี้แจงวัตถุประสงค์

โดย ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

10.10 น.  

 แนวโน้มสถานการณ์น้ำ 67/68 และมาตราการปรับตัวที่พึงมีโดยคณะวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ

•   สภาพอากาศและแนวโน้ม (ปี 2567-2568)

 โดย ดร.ชลัมภ์ อุ่นอารีย์ นักวิจัยศูนย์ภูมิอากาศ   กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา (เอกสาร 01)

 ดร.กนกศรี ศรินนภากร หัวหน้างานภูมิอากาศและสภาพอากาศ  

 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)    (เอกสาร 02)

•   สภาพน้ำท่าและแนวโน้มบนข้อสมมติฐานต่าง ๆ

โดย  ผศ ดร จุติเทพ  วงษ์เพชร์    คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เอกสาร 03)

แนวทางการจัดการน้ำ ในสภาพลาลินย่า/เอลนีโญ

โดย ดร.ธเนศ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา  กรมชลประทาน (เอกสาร 04)

•   แนวทางการปรับตัวของชุมชน

โดย ผศ ดร ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เอกสาร 05)

•   ผลกระทบที่คาดว่าจะมี และแนวทางการปรับตัว

 โดย รศ. ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  (เอกสาร 06)

11.10 น.   ตอบข้อซักถามสื่อมวลชน