การประชุมเพื่อระดมความคิดและจัดทำหัวข้อเสนอการวิจัยเกี่ยวกับ การพัฒนาเครื่องมือการจัดการน้ำที่เหมาะสมกับประเทศไทยในอนาคต
การประชุมเพื่อระดมความคิดและจัดทำหัวข้อเสนอการวิจัยเกี่ยวกับ
การพัฒนาเครื่องมือการจัดการน้ำที่เหมาะสมกับประเทศไทยในอนาคต
วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2559
ณ ห้องบุษบา ชั้น 1 โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ
ความเป็นมาของการประชุม
ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรน้ำ ที่ดิน และสิ่งแวดล้อม งานวิจัยจากหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลโดยตรงต่อทรัพยากรน้ำ ทั้งในด้านปริมาณน้ำต้นทุน ความต้องการน้ำ และภัยพิบัติจากน้ำ การใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสมและขาดการบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งผลให้เกิดการพังทลายของหน้าดิน และปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เมือง เนื่องจากประเทศไทยได้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
อย่างรวดเร็ว มีความจำเป็นต้องแข่งขันกับนานาชาติเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และต้องการข้อมูลที่ทันสมัยและมีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ อีกทั้งประเทศยังต้องเตรียมความพร้อมในทุกด้านเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงจำเป็นต้องใช้ผลการวิจัยเพื่อเป็นฐานความรู้ประกอบการกำหนดมาตรการปรับตัว การวางแผนรองรับกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรองรับต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559 ได้กำหนดให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพัฒนาประเทศ รวมถึงการพัฒนาและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นช่องว่างทางองค์ความรู้และนโยบายที่เราสามารถเติมเต็มโดยใช้งานวิจัยได้
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยใช้การวิจัยเป็นกลไกสร้างฐานความรู้สำหรับการแก้ปัญหาให้แก่สังคม และ
ในแผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ปี พ.ศ. 2557-2560 ซึ่ง สกว. ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบกำกับ การดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์การสนับสนุนการวิจัย ซึ่งจัดทำให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ (Country strategy) 3 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Growth and Competitiveness) 2) การสร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม (Inclusive growth) และ
3) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green growth)
โดยที่ยุทธศาสตร์ของ สกว. จะเน้นการสนับสนุนงานวิจัย การพัฒนานักวิจัย และพัฒนาระบบวิจัย การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องเชื่อมประสานและผนึกกำลัง (Synergy) กันทั้ง 3 ยุทธศาสตร์ไปพร้อมกัน เพื่อให้งานวิจัยได้ประโยชน์สูงสุด และเป็นงานวิจัยที่มีดุลยภาพในการเติบโตด้านต่างๆ ไปด้วยกัน เพื่อสร้าง
การเติบโตที่ยั่งยืน (Sustainable Growth)
เพื่อให้การให้ทุนวิจัยเป็นไปตามเป้าหมายและก่อให้เกิดผลงานวิจัยที่มีผลลัพธ์และผลกระทบสูงขึ้น สกว. จึงได้กำหนดกรอบ ประเด็นการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ของสกว. (Strategic Research Issues, SRI) ขึ้นมา 12 หัวข้อ และหัวข้อ SRI 3 เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ น้ำ ที่ดิน และการจัดการสิ่งแวดล้อม นับเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญ การกำหนดประเด็นวิจัยให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ จำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อให้ทราบถึงประเด็นวิจัย และเป็นไปตามทิศทางในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยมีเป้าหมายการวิจัยที่ชัดเจน สามารถขยายผลไปสู่ฝ่ายปฏิบัติ ตลอดจนการเชื่อมโยงประเด็นวิจัย และบูรณาการทำงานจากหลายฝ่ายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จึงต้องจัดทำยุทธศาสตร์ เพื่อการกำหนดประเด็นวิจัย สำหรับเป็นกรอบและแนวทางการปฏิบัติต่อไป
ในหัวข้อ SRI 3 ดังกล่าวได้มีข้อเสนอแนะงานวิจัย 5 เรื่อง คือ 1) การศึกษา Thailand outlook 2030
2) การศึกษาด้านศักยภาพของทรัพยากรน้ำของไทย (3) การศึกษาด้านการจัดสรรน้ำ 4) การศึกษาด้านเครื่องมือการจัดการ และ 5) การศึกษาด้านผู้ใช้น้ำโดยมีรูปแบบการจัดการที่เป็นไปได้
จากเหตุผลและหลักการข้างต้นเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของ สกว. ฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ จึงได้จัดประชุมเพื่อระดมความคิดและจัดทำแนวข้อเสนอโครงการ ในหัวข้องานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาด้านการพัฒนาเครื่องมือในการจัดการน้ำที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองการกำหนดนโยบายจัดการน้ำของประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้ ช่องว่างและประเด็นความท้าทายในการกำหนดนโยบายจัดการน้ำของประเทศไทย ในมุมมองด้านการบริหารและกฏหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการสร้างเครือข่ายความรู้และการจัดการในหลายมิติทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรน้ำ ที่ดิน และการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงการทำงานร่วมกันหลายศาสตร์ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ระหว่างหน่วยงานนโยบาย หน่วยงานปฏิบัติ ชุมชน และสถาบันการศึกษา และเพื่อระดมความคิดและจัดทำแนวข้อเสนอโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเด็นการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ของสกว. หัวข้อ SRI 3 เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ น้ำ ที่ดิน และการจัดการสิ่งแวดล้อม ในประเด็นงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาด้านการพัฒนาเครื่องมือในการจัดการน้ำที่เหมาะสม
เพื่อตอบสนองการกำหนดนโยบายจัดการน้ำของประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม
- วิเคราะห์องค์ความรู้ ช่องว่างและประเด็นความท้าทายในการกำหนดนโยบายจัดการน้ำของประเทศไทย ในมุมมองด้านการบริหารและกฏหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านวิศวกรรมศาสตร์
- ระดมความคิดและจัดทำหัวข้อวิจัยด้านการพัฒนาเครื่องมือในการจัดการน้ำที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองการกำหนดนโยบายจัดการน้ำของประเทศไทย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- หน่วยงานนโยบาย หน่วยงานปฏิบัติ ชุมชน และสถาบันการศึกษา ได้รับทราบและแลกเปลี่ยนข้อมูล ช่องว่างและประเด็นความท้าทายของนโยบายจัดการน้ำของประเทศไทย ในมุมมองด้านวิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์
- หัวข้องานวิจัยด้านการพัฒนาเครื่องมือในการจัดการน้ำที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองการกำหนดนโยบายจัดการน้ำของประเทศไทย
กำหนดการ