การจัดเวทีสาธารณะนโยบายน้ำ สกว. ครั้งที่ 10 "การบริหารจัดการน้ำภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์น้ำของประเทศ"

การจัดเวทีสาธารณะนโยบายน้ำ สกว. ครั้งที่ 10

"การบริหารจัดการน้ำภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์น้ำของประเทศ"
วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2562
ห้องแมนดาริน ซี ชั้น 1 โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ

1) หลักการและเหตุผล

        ทรัพยากรน้ำ เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญสำหรับการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตและเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น การบริโภคและอุปโภคการเกษตรกรรมการอุตสาหกรรมการคมนาคมการผลิตกระแสไฟฟ้าการท่องเที่ยวและนันทนาการการรักษาสมดุลของระบบนิเวศเป็นต้น

        สถานการณ์เกี่ยวกับน้ำในช่วงที่ผ่านมานั้นมีความผันผวนเป็นอย่างมากและก่อให้เกิดประเด็น
ด้านการบริหารจัดการที่ท้าทายยิ่งขึ้น ทั้งในด้านภาวะการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง  ภาวะน้ำท่วมในฤดูฝน  ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำ  ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คุณภาพของน้ำเสียไปไม่อาจนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้  และบางกรณีก็ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อบุคคล  สัตว์  พืช  และทรัพย์สินอีกด้วย  รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญและประเด็นปัญหาต่างๆ ด้านน้ำจึงกำหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็น 1 ใน 6 ด้านของยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) และแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด

        ในการนี้ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านน้ำในหลายมิติให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ รัฐบาลยังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และประกาศแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ12 ปี
(พ.ศ. 2558-2569) ซึ่งต่อมาได้ขยายระยะเวลาและปรับชื่อใหม่เป็นแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แบ่งเป็น 6 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค เป้าหมายเพื่อให้ทุกหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคบริโภคด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตเป้าหมายเพื่อให้ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมมีแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการจัดการอย่างสมดุล ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัยเป้าหมายเพื่อให้พื้นที่ชุมชนพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญและพื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและอุทกภัยน้อยที่สุด ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำเป้าหมายเพื่อให้แหล่งน้ำ
ทั่วประเทศมีคุณภาพน้ำอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไปและป้องกันระดับความเค็มไม่ให้เกินมาตรฐานของการเกษตร ด้านที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดินเป้าหมายเพื่อให้พื้นที่ป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู และด้านที่ 6 การบริหารจัดการเป้าหมายเพื่อให้มีการบริหารจัดการลุ่มน้ำอย่างสมดุล

        การจัดเวทีสาธารณะนโยบายน้ำ สกว. มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเวทีของการสร้างเครือข่ายความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกันและนำเสนอประเด็นงานวิจัยที่จำเป็น เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างมีเอกภาพบูรณาการและสอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งระดับประเทศ
ลุ่มน้ำ และพื้นที่ โดยเวทีสาธารณะนโยบายน้ำจัดขึ้นในสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแห่งชาติและวันน้ำโลกต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีนับตั้งแต่ปี 2553 โดยนำเสนอแนวคิดงานวิจัยเพื่อเสริมงานด้านยุทธศาสตร์น้ำแห่งชาติและนำเสนอผลงานวิจัยในเครื่องมือการจัดการน้ำเพื่อบูรณาการการวางแผนการจัดการน้ำระดับประเทศ จังหวัด กลุ่มจังหวัด และนโยบายหรือยุทธศาตร์ของประเทศ โดยถ่ายทอดผ่านการจัดเวทีนโยบายสาธารณะน้ำ สกว.ในปี 2562 นี้นำเสนอ เรื่องการบริหารจัดการน้ำภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
เพื่อรองรับยุทธศาสตร์น้ำของประเทศ

2) วัตถุประสงค์ของเวทีสาธารณะนโยบายน้ำครั้งที่ 10

  1. นำเสนอกรอบการบริหารจัดการน้ำภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
  2. นำเสนอผลความคืบหน้าและผลที่ได้จากงานวิจัย
  3. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่องานวิจัย

โดยในวันจัดประชุมจะแบ่งงานออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

ช่วงเช้า นำเสนอกรอบการบริหารจัดการน้ำภายใต้แผนแม่บทบริหารจัดการน้ำ แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ แนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำ แนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มมูลค่า และประเด็นวิจัยเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์น้ำ

ช่วงบ่าย นำเสนอแนวทางการบริหารน้ำอย่างยั่งยืน แนวทางการบริหารน้ำอย่างมีธรรมาภิบาล ตัวอย่าง
การบริหารน้ำชุมชน โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย ตัวอย่างการบริหารน้ำชุมชนดีเด่น โครงการอ่างเก็บน้ำ
นาวัลเปรียง และอภิปรายประเด็นการบริหารจัดการน้ำโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

3) (ร่าง) กำหนดการ

08.30 – 08.50 น.   ลงทะเบียน
08.50 – 09.00 น.   กล่าวเปิด
    โดย ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ
         ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
09.00 – 09.30 น.   แนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำ
    โดย ดร.ปิยธิดา เรืองรัศมี
         คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
09.30 – 10.00 น.   แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ
    โดย นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ
         รักษาการที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
10.00 – 10.15 น.   พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 – 10.45 น.   แนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มมูลค่า
    โดย รศ.ดร.นิรมล สุธรรมกิจ
         คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.45 – 11.15 น.   ประเด็นวิจัยเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์น้ำ
    โดย ดร.สุภัทรา วิเศษศรี
         คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.15 – 11.45 น.   ข้อเสนอกรอบการบริหารจัดการน้ำภายใต้แผนแม่บทบริหารจัดการน้ำ
    โดย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์
         คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.45 – 12.00 น.   ถาม - ตอบ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม
12.00 – 13.00 น.   พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 13.30 น.   แนวทางการบริหารน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน
    โดย ดร.ประยุทธ์ ไกรปราบ
         สำนักงานแหล่งน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ
13.30 – 14.00 น.   แนวทางการบริหารน้ำอย่างมีธรรมาภิบาลน้ำ
    โดย ดร.แมน ปุโรทกานนท์
         Thai Water Partnership
14.00 – 15.00 น.   ตัวอย่างการบริหารน้ำชุมชน โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย
    โดย คุณชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
           คุณเฉลิมพล ช้างเผือก   เจ้าหน้าที่ประจำอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย
           คุณสมนึก เทศอ้น         หัวหน้าโครงการและนักวิจัยโครงการ
    ตัวอย่างการบริหารน้ำชุมชนโครงการวิจัยชุมชนบางสะแก​
 โดย คุณมนัส บุญพยุง หัวหน้าโรงการวิจัยขุมขนบางสะแก 
15.00 – 15.15 น.   พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 15.45 น.   อภิปรายประเด็นการบริหารจัดการน้ำโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
    โดย ดร.ประยุทธ์ ไกรปราบ 
           สำนักพัฒนาแหล่งน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ
           ดร.แมน ปุโรทกานนท์
           Thai Water Partnership
            คุณชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ
            ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
            คุณเฉลิมพล ช้างเผือก
            เจ้าหน้าที่ประจำอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย
            คุณสมนึก เทศอ้น
            หัวหน้าโครงการวิจัยอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย
            คุณมนัส บุญพยุง
            หัวหน้าโครงการวิจัยชุมชนบางสะแก
    ดำเนินการอภิปรายและสรุป
    โดย ดร.โชคชัย สุทธิธรรมจิต
           คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15.45 – 16.00 น.   รับฟังความคิดเห็นผู้เข้าร่วมประชุม
16.00 – 16.15 น.   กล่าวปิดเวที
    โดย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์
           คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(ติดต่อ วิชุตา hem1722@hotmail.com   โทร 02-218-6426 เพื่อลงทะเบียนล่วงหน้า)

4) ผู้เข้าร่วมสัมมนา

        ผู้เข้าร่วมสัมมนา ประมาณ 120 คน จากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่

  • ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ
  • คณะกรรมการลุ่มน้ำ
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • สถาบันการศึกษา องค์กร/เครือข่ายชุมชนน้ำ ผู้นำชุมชน