การจัดเวทีสาธารณะนโยบายน้ำ สกว. ครั้งที่ 8 เรื่อง การวางแผนด้านน้ำในบริบทการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบูรณาการเชิงพื้นที่

การจัดเวทีสาธารณะนโยบายน้ำ สกว. ครั้งที่ 8

เรื่อง การวางแผนด้านน้ำในบริบทการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบูรณาการเชิงพื้นที่

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2560

ห้องInfinity I ชั้น 7 โรงแรมเอทัสลุมพินี (AetasLumpini)

  1. หลักการและเหตุผล

        ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญในการวางแผนประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมกำลังพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อการวางแผนประเทศระยะยาว  และการบูรณาการงบประมาณ โดยกำหนดให้มีการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ให้สามารถบรรลุผลสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 สำนักงบประมาณได้จัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการ จำนวน 25 เรื่อง เพื่อให้กระบวนการจัดทำงบประมาณเป็นเครื่องมือจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงหลักประหยัด ความคุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติโดยในแผนบูรณาการทั้ง 25 เรื่อง
มีข้อที่ 20 เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และข้อที่ 25 เรื่อง การส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ และการพัฒนาระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

        การจัดเวทีสาธารณะนโยบายน้ำ สกว. มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเวทีของการสร้างเครือข่ายความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกัน ในระหว่างหน่วยงานนโยบาย หน่วยงานปฏิบัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับความสามารถในการวางแผนน้ำระดับประเทศ
การจัดการน้ำของชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด และลุ่มน้ำ และเป็น "พื้นที่" ให้หน่วยงานรัฐได้หาทางเลือกและพัฒนากลไก รูปแบบ และกระบวนการ ในการตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการตัดสินใจการใช้ทรัพยากรน้ำที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเป็นธรรม และให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงใหม่ในอนาคต โดยเวทีสาธารณะนโยบายน้ำจัดขึ้นในสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแห่งชาติและวันน้ำโลกต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีนับตั้งแต่ปี 2553 โดยนำเสนอแนวคิดการบูรณาการการวางแผนการจัดการน้ำระดับประเทศ จังหวัด กลุ่มจังหวัด และ นโยบายหรือยุทธศาสตร์ของประเทศ ภาพของ
การเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรน้ำกับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด เช่น ด้านการเกษตร จะเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการบูรณาการดังกล่าว โดยถ่ายทอดผ่านการจัดเวทีนโยบายสาธารณะน้ำ สกว. ซึ่งในปี 2560 นี้นำเสนอ เรื่อง การวางแผนด้านน้ำในบริบทการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบูรณาการเชิงพื้นที่

2) วัตถุประสงค์ของเวทีสาธารณะนโยบายน้ำครั้งที่ 8

  1. เสนอแนวคิดการบริหารน้ำในมติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบูรณาการเชิงพื้นที่ (ด้านน้ำและเกษตร)
  2. นำเสนอผลความคืบหน้าและผลที่ได้จากงานวิจัยด้านเครื่องมือการจัดการน้ำใหม่
  3. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อแนวคิดการจัดการน้ำในบริบทใหม่

        นำเสนอผลสรุปของชุดโครงการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือใหม่ในการจัดการน้ำ การพัฒนากลไก
การสนับสนุนการวางแผนจัดทำงบประมาณด้านทรัพยากรน้ำและเกษตร รวมถึงกรณีตัวอย่างจากงานวิจัย
และกรณีศึกษา เพื่อเชื่อมโยงกับการจัดการในระดับต่างๆ ในลักษณะโครงข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำ จากพื้นที่สู่นโยบาย

3) กำหนดการ

เวลา ไฟล์ รายการ
08.30 – 09.00 น.   ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น. กล่าวรายงาน
        โดย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์
           คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  กล่าวเปิด
        โดย   ดร.ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์
            ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาประเด็นวิจัยเชิงยุทธศาสตร์เรื่อง
            การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ น้ำ ที่ดิน และการจัดการสิ่งแวดล้อมสกว.
09.30 – 10.00 น. เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการบริหารจัดการน้ำ
        โดย   รศ.ดร.นิรมล สุธรรมกิจ และคณะ
            คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.00 – 10.30 น. การบริหารจัดการน้ำในบริบทของการวางแผนพัฒนาอย่างยั่งยืน  
    และการบูรณาการเชิงพื้นที่
    โดย   นางสาวลดาวัลย์ คำภา
             รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
10.30 – 10.45 น.   รับประทานอาหารว่าง
10.45 – 11.15 น. แนวคิดในการบูรณาการแผนน้ำระดับจังหวัด 
        โดย   นายภิรมย์ นิลทยา
             รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
11.15 – 11.45 น. กลยุทธ์และแผนการจัดการคุณภาพน้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
        โดย   ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
             ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
11.45 – 12.00 น.   ถาม-ตอบ
12.00 – 13.00 น.   รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 13.30 น. การวางแผนน้ำเพื่อบูรณาการกับการวางแผนระดับพื้นที่
        โดย    นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ
             ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ
13.30 – 14.00 น. มุมมองสถานการณ์น้ำในมิติเศรษฐกิจสังคม
        โดย    ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ / นายโชคชัย สุทธิธรรมจิต
             คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14.00 – 14.30 น.   การสนับสนุนการวางแผนน้ำและเกษตรเชิงพื้นที่พร้อมตัวอย่าง
      โดย    นายศักย์ สกุลไทย
                 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย /
               นายชูชีพ สุพบุตร
                 นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองมะโมง จ.ชัยนาท
14.30 – 14.50 น.   รับประทานอาหารว่าง
14.50 – 16.15 น.   การประชุมเชิงปฏิบัติการ (แบ่ง 6 กลุ่มตามภาค)
    เพื่อระดมสมองให้ความเห็นต่อการศึกษาสถานการณ์น้ำและการพัฒนา
เศรษฐกิจ ทางออก และการบูรณาการกับแผนพัฒาพื้นที่
    โดย    ผู้แทนภาคเอกชนจังหวัด ผู้แทนจังหวัดผู้แทน อบจ.
             (ดำเนินรายการโดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยแต่ละพื้นที่)
16.15 – 16.30 น.   สรุปผลการสัมมนา

4) ผู้เข้าร่วมสัมมนา

        ผู้เข้าร่วมสัมมนา ประมาณ 120คน จากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่

  • ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ
  • คณะกรรมการลุ่มน้ำ
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • สถาบันการศึกษา องค์กร/เครือข่ายชุมชนน้ำ ผู้นำชุมชน       

จังหวัดเป้าหมาย (ลำพูน, ชัยนาท, พัทลุง, มหาสารคาม, ระยอง, เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นครราชสีมา พิษณุโลก, กรุงเทพมหานครฯ

5) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. หน่วยงานนโยบาย หน่วยงานปฏิบัติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับทราบข้อมูลนโยบายการจัดการทรัพยากรที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ และเรียนรู้ประสบการณ์จากงานวิจัย และกรณีศึกษา เป็นแนวทางวางกรอบนโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาศักยภาพ
    การจัดการน้ำในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  2. เครือข่ายร่วมกันทั้งภาครัฐ องค์กรชุมชน และสถาบันการศึกษาในการขับเคลื่อนงานวิจัย
    จากพื้นที่สู่นโยบายและการขับเคลื่อนการปฏิรูป
  3. เอกสารประกอบการจัดเวทีและรายงานสรุปผลการจัดเวทีเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป
  4. ข้อเสนอการจัดการน้ำระดับจังหวัดและชุมชนเพื่อส่งให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง