เวทีสาธารณะนโยบายน้ำ สกว. ครั้งที่ 7 เรื่อง การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำกับยุทธศาสตร์ชาติ

เวทีสาธารณะนโยบายน้ำ สกว. ครั้งที่ 7
เรื่อง การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำกับยุทธศาสตร์ชาติ
วันพุธที่ 23 มีนาคม 2559
ณ โรงแรมเอทัส ลุมพินี กรุงเทพฯ

1.หลักการและเหตุผล

จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (ปี พ.ศ. 2558-2569)
เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศต่อไป
ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
(1) ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค
(2) ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต (เกษตรและอุตสาหกรรม)
(3) ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย
(4) ยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพน้ำ
(5) ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และ
(6) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานในระยะเร่งด่วน/สั้น (ปี 2558-2559) ระยะกลาง (ปี 2560-2564) และระยะยาว (ปี 2565 ขึ้นไป)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าส่วนเชื่อมต่อที่สำคัญที่เป็นปัจจัยในการทำให้แผนยุทธศาสตร์ฯ ที่กำหนดขึ้นนั้นประสบความสำเร็จก็คือหน่วยงานในพื้นที่จังหวัด และชุมชน ดังนั้นจึงควรนำการบริหารจัดการน้ำระดับจังหวัดและชุมชนมาเชื่อมต่อแผนงานยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ  โดยการบริหารจัดการหรือแผนการที่เหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์จะช่วยลดและบรรเทาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น การเรียนรู้ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ จะช่วยให้เห็นองค์ประกอบระดับผู้ใช้เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการขยายศักยภาพเป็นโครงข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Linkage Management) ที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การจัดเวทีสาธารณะนโยบายน้ำ สกว. มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเวทีของการสร้างเครือข่ายความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกัน ในระหว่างหน่วยงานนโยบาย หน่วยงานปฏิบัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับความสามารถในการจัดการน้ำของชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด และลุ่มน้ำ และ
เป็น "พื้นที่" ให้หน่วยงานรัฐได้หาทางเลือกและตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการตัดสินใจการใช้ทรัพยากรน้ำที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเป็นธรรม และให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงใหม่ในอนาคต โดยเวทีสาธารณะนโยบายน้ำจัดขึ้นในสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแห่งชาติและวันน้ำโลกต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีนับตั้งแต่ปี 2553 โดยนำเสนอแนวคิดการวางแผนการจัดการน้ำระดับจังหวัด การเชื่อมโยงการวางแผนน้ำกับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และกระบวนการเชื่อมโยงแผนระดับพื้นที่กับระดับนโยบาย และตัวอย่างรูปธรรมที่เกิดขึ้นจริง การจัดเวทีนโยบายสาธารณะน้ำ สกว. ในปี 2559 นี้นำเสนอ เรื่อง การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำกับยุทธศาสตร์ชาติ

2. วัตถุประสงค์ของเวที

นำเสนอการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำกับยุทธศาสตร์ชาติและผลกรณีตัวอย่างจากงานวิจัยและกรณีศึกษา การปรับตัวการบริหารน้ำในระดับต่างๆ (ลุ่มน้ำ จังหวัด ชุมชน) เพื่อเชื่อมโยงกับการจัดการในระดับต่างๆ
ในลักษณะโครงข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำ จากพื้นที่สู่นโยบาย

 

3. กำหนดการ

เวลา เนื้อหา ไฟล์
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน  
09.00 - 09.15 น. พิธีเปิด โดย ดร.ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์
  ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาประเด็นวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เรื่อง

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ น้ำ ที่ดิน และการจัดการสิ่งแวดล้อม สกว.

 
  ช่วงเช้า  ยุทธศาสตร์ประเทศกับน้ำ (มองจากบนลงล่าง)  
09.15 - 10.00 น. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี SDGs (Sustainable Development Goals) 
 

และแผนฯ 12 ของประเทศ
โดย นางสาวลดาวัลย์ คำภา
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 
10.00 - 10.45 น. ยุทธศาสตร์น้ำของชาติ 12 ปี
  โดย นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ
ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
 
10.45 - 11.15 น. ประเด็น SDGs ยุทธศาสตร์ประเทศ Cop21 กับการบริหารจัดการน้ำ
  โดย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์   
  สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม  
11.15 - 11.45 น. การเชื่อมโยงนโยบาย SDGs การบริหารจัดการน้ำ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  โดย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์  
  คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
11.45 - 12.00 น ถาม - ตอบ  
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน  
ช่วงบ่าย    
  ช่วงบ่าย  การปรับตัวการบริหารน้ำในระดับต่างๆ และประเด็นต่างๆ (ลุ่มน้ำ จังหวัด ชุมชน)  
13.00 - 13.30 น. ตัวอย่างการบริหารลุ่มน้ำน่าน-จังหวัด-ชุมชน
  โดย ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ และคุณโชคชัย สุทธิธรรมจิต  
  คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
13.30 - 14.00 น. อนาคตของยุทธศาสตร์น้ำและยุทธศาสตร์จังหวัดภายใต้การเปลี่ยนแปลง
  ภูมิอากาศ: แนวคิดและประเด็นที่พึงพิจารณา  
  โดย นายศุภกร ชินวรรโณ  
  ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกฯ  
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   
14.00 - 14.30 น. ตัวอย่างการปรับตัวของชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม
  โดย นายชิษนุวัฒน์  มณีศรีขำ  
  ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม  
14.30 - 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง  
14.45 – 15.15 น. นำเสนอเรื่อง การปฏิรูปการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 
  โดย คุณมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์   สภาขับเคลื่อนการปฏิรูประเทศ   
15.15 – 16.30 อภิปรายเรื่อง  “ทำอย่างไรให้มีการเชื่อมโยงการบริหารน้ำในระดับต่างๆ”
  โดย คุณมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์      สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ  
  คุณสราวุธ ชีวะประเสริฐ     ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  
  คุณสำรวย ผัดผล     มูลนิธิฮักเมืองน่าน  
  รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   (ผู้ดำเนินการอภิปราย)  
  (นำเสนอคนละ 15 นาที อภิปรายคนละ 10 นาที)  
16.30 - 16.45 น. สรุปงานเวทีสาธารณะนโยบายน้ำครั้งที่ 7  

4. ผู้เข้าร่วมประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ 150 คน จากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่

ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ

     คณะกรรมการลุ่มน้ำ

     ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          สถาบันการศึกษา องค์กร/เครือข่ายชุมชนน้ำ ผู้นำชุมชน

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

5.1)    หน่วยงานนโยบาย หน่วยงานปฏิบัติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับทราบข้อมูลนโยบายการจัดการทรัพยากรที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ และเรียนรู้ประสบการณ์จากงานวิจัย และกรณีศึกษา เป็นแนวทางวางกรอบนโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาศักยภาพการจัดการน้ำในพื้นที่

5.2)    เครือข่ายร่วมกันทั้งภาครัฐ องค์กรชุมชน และสถาบันการศึกษาในการขับเคลื่อนงานวิจัยจากพื้นที่สู่นโยบายและการขับเคลื่อนการปฏิรูป

5.3)    เอกสารประกอบการจัดเวทีและรายงานสรุปผลการจัดเวทีเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป

5.4)    ข้อเสนอการจัดการน้ำระดับจังหวัดและชุมชนเพื่อส่งให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง